หน้าหลัก
  บทเรียน scilab
  การประยุกต์ใช้งาน
  ดาวน์โหลด
  ฟังก์ชันคณิตศาสตร์
  Symbolic Toolbox
  บริการฝึกอบรม
  เว็บบอร์ด
  เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
  สมุดเยี่ยมชม
  บุคลากร
สมัครสมาชิก
ดาวน์โหลดฟรี

Download Scilab
Scilab - LabVIEW
INRIA
Scicos
admin Online ขณะนี้ : 2 คน count
 


เมทริกซ์พิเศษ

ในการประยุกต์ใช้งานเมทริกซ์ บางครั้งมีความจำเป็นต้องสร้างเมทริกซ์ที่มีค่าเฉพาะหรือมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน เช่น ต้องการสร้างเมทริกซ์ที่มีค่าเป็นหนึ่งทั้งหมดขนาด m x n โดยที่ m และ n มีค่ามาก ถ้าสร้างเมทริกซ์นี้โดยการพิมพ์ค่าแต่ละค่าเข้าไปอาจจะทำให้เสียเวลามากและอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้นโปรแกรม SCILAB จึงได้เตรียมฟังก์ชันพื้นฐานสำหรับสร้าง
เมทริกซ์พิเศษหลายรูปแบบขึ้นมาไว้ใช้งานตามตารางที่ 6.1 ตัวอย่างเช่น

ตารางที่ 6.1 ตัวอย่าง เมทริกซ์พิเศษในโปรแกรม SCILAB

คำสั่ง

คำอธิบาย

eye

 เมทริกซ์เอกลักษณ์ (identity matrix)

ones

 เมทริกซ์ค่าหนึ่ง (one matrix)

zeros

 เมทริกซ์ค่าศูนย์ (zero matrix)

rand

 เมทริกซ์สุ่ม (random matrix)

diag

 เมทริกซ์ทแยงมุม (diagonal matrix)

tril

 เมทริกซ์สามเหลี่ยมด้านล่าง (lower triangular matrix)

triu

 เมทริกซ์สามเหลี่ยมด้านบน (upper triangular matrix)

toeplitz

 เมทริกซ์ Toeplitz (toeplitz matrix)

 

-->A = eye(3,3)                            // สร้างเมทริกซ์เอกลักษณ์ที่มีขนาด 3 x 3

A =

          1.   0.   0.

          0.   1.   0.

          0.   0.   1.

-->A = ones(2, 3)                          // สร้างเมทริกซ์ค่าหนึ่งขนาด 2 แถวและ 3 แนวตั้ง

A =

          1.    1.    1.

          1.    1.    1.

-->diag([1 2 3])                            // ค่า 1, 2, และ 3 อยู่ที่เส้นทแยงมุมหลัก

ans =

          1.   0.    0.

          0.    2.   0.

          0.    0.   3.

6.1 เมทริกซ์สุ่ม

เมทริกซ์สุ่ม (random matrix) เป็น เมทริกซ์ ที่มีสมาชิกเป็นจำนวน สุ่ม การสร้างเมทริกซ์สุ่มในโปรแกรม SCILAB สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง rand ซึ่ง มีลักษณะการเรียกใช้งานดังนี้

 

rand(m1, m2, [key])

โดยที่

•  m1, m2 คือเลขจำนวนเต็มบวกที่ใช้กำหนดขนาดของเมทริกซ์สุ่มที่จะสร้างขึ้นมา เช่น rand(m1, m2) หมายถึง ให้สร้างเมทริกซ์สุ่มขนาด m1 แนวนอน และ m2 แนวตั้ง

•  key เป็นตัวเลือกที่กำหนดลักษณะการแจกแจง (distribution) ของจำนวนสุ่มที่สร้าง กล่าวคือ ถ้า

•  key = "uniform" จำนวนสุ่มที่สร้างขึ้นมาจะมีลักษณะการแจกแจงเอกรูปมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 (เป็นค่าโดยปริยาย)

•  key = "normal" จำนวนสุ่ม ที่สร้างขึ้นมาจะมีลักษณะการแจกแจงปรกติ (หรือแบบเกาส์เซียน) ที่มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับค่า 0
                            และมีค่าความแปรปรวน (varaince) เท่ากับค่า 1

ตัวอย่างการใช้งานของคำสั่งนี้ เช่น

-->X = rand(2, 4, 'uniform')                  // สร้างเมทริกซ์สุ่มขนาด 2 x 4

X =

          0.3095371      0.9706916      0.0204748         0.3490364

          0.6762972      0.5441797      0.8941365         0.1105365

-->W = rand(1, 100000, 'normal');

-->[mean(W), variance(W)]                 // ค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวนสอดคล้องกับลักษณะการแจกแจงปรกติ

ans =

          0.0048048      0.9988003

 
สงวนลิขสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถนนมาลัยแมน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
โทร. 034-261021 โทรสาร .034-261065 E-mail : piya@npru.ac.th