ระบบบ่งชี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
โดย รศ.ดร. ปิยะ โควินท์ทวีวัฒน์

 
 

    
เทคโนโลยีบ่งชี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID: radio frequency identification) สามารถนำมาประยุกต์ใช้งาน
ได้หลายรูปแบบทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ จากการวิจัยพบว่า มูลค่ารวมตลาด ทั่วโลกของ RFID
มีอัตราที่สูงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2550 ตลาดอุตสาหกรรม RFID ในโลกมีมูลค่าสูงถึง 3,800
ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าในปี พ.ศ. 2555 จะมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 8,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น
ตลาดอุตสาหกรรม RFID จึงถือว่าเป็นตลาดเทคโนโลยีที่เติบโตสูงมากเช่นเดียวกับตลาดอุตสาหกรรมโทรศัพท
์เคลื่อนที่ สำหรับตลาด RFID ในประเทศไทยพบว่ามีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานในหลายๆ ด้าน ได้แก่
การผลิตในอุตสาหกรรม, การประยุกต์ใช้กับห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์, การควบคุมการเข้า-ออก, การปศุสัตว์,
และการเงิน เป็นต้น โดยจากสถิติใน ปี พ.ศ. 2548 มูลค่าตลาดของ RFID ในประเทศไทย (ทั้งส่วนที่ผลิตเอง
ในประเทศและนำเข้า) มีมูลค่าประมาณ 856.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.07 ของตลาด RFID ทั่วโลก
และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 1,827.3 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2550
     
ในปีพ.ศ. 2549 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้เห็นถึงความสำคัญของ
การพัฒนาอุตสาหกรรม RFID ของประเทศไทย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาอุตสาหกรรม RFID ขึ้นโดยมี
เป้าหมายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID ในวงกว้าง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้เพราะว่าประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้าน RFID เมื่อเทียบกับแนวโน้มการขยายตัว
ของประเทศ ดังนั้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการแข่งขันและการขยายตัวด้าน
RFID จึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้าน RFID
ของประเทศ โดยได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี
พ.ศ. 2550 ภายใต้รหัสโครงการ NT-B-22-FR-98-50-08 ในการสร้างชุดฝึกการเรียนการสอนวิชาระบบ
บ่งชี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งประกอบไปด้วยชุดฝึกขั้นพื้นฐาน ชุดฝึกขั้นสูง ใบงานต่างๆ สำหรับการทดลอง
ที่ใช้ชุดฝึกขั้นพื้นฐานและขั้นสูง รวมทั้งหนังสือเรื่อง “ระบบบ่งชี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ” เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียน
การสอนวิชาระบบบ่งชี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายพื้นฐานและ
หลักการของระบบ RFID ในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เหมาะสำหรับนักศึกษา
ที่เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

หนังสือเล่มนี้จะเริ่มต้นอธิบายประวัติความเป็นมา โครงสร้าง องค์ประกอบของระบบบ่งชี้อัตโนมัติแบบต่างๆ
ซึ่งรวมไปถึงระบบ RFID จากนั้นบทที่ 2 กล่าวถึงประเภทของระบบ RFID รูปแบบของบัตรและเครื่องอ่าน
ย่านความถี่ และระยะทางการใช้งานของระบบ รวมทั้งกระบวนการรับส่ง ข้อมูลภายในระบบ RFID เพื่อให้ผู้อ่าน
ได้เห็นภาพรวมการทำงานของระบบ RFID บทที่ 3 อธิบายหลักการพื้นฐานต่างๆ ของระบบ RFID เช่น
หลักการสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา การสื่อสารสองทางเต็มอัตรา ทฤษฎีพื้นฐานของสนามแม่เหล็ก
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสายอากาศ เป็นต้น บทที่ 4 อธิบายถึงทฤษฎีการเข้ารหัสและถอดรหัสในช่องสัญญาณ
แถบความถี่ฐานและรูปแบบกระบวนการมอดูเลชัน แบบดิจิทัลที่ใช้ในระบบ RFID บทที่ 5 กล่าวถึง
ความสำคัญของกระบวนการผลรวมตรวจสอบและกระบวนการป้องกันการชนกันของข้อมูล บทที่ 6 อธิบาย
กระบวนการพิสูจน์ตัวตนและกระบวนการเข้ารหัสลับเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลที่รับส่งในระบบ RFID
บทที่ 7 อธิบายโครงสร้างและขั้นตอนการออกแบบเครื่องอ่าน RFID สำหรับการใช้งานย่านความถี่ต่ำ
และบทที่ 8 ซึ่งเป็นบทสุดท้าย จะยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระบบ RFID แบบต่างๆ

 
 



Content & Download


บทที่ 1 พื้นฐานระบบบ่งชี้อัตโนมัติ 

บทที่ 2 โครงสร้างของระบบ RFID

บทที่ 3 หลักการพื้นฐานของระบบอาร์เอฟไอดี  

บทที่ 4 การเข้ารหัสและการมอดูเลชัน

บทที่ 5 บูรณภาพของข้อมูล  

บทที่ 6 ความปลอดภัยของข้อมูล

บทที่ 7 การออกแบบเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  

บทที่ 8 การประยุกต์ใช้ระบบอาร์เอฟไอดี

 

ภาคผนวก ก ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ   

ภาคผนวก ข ตัวอย่างรหัสข้อผิดพลาด           

ภาคผนวก ค ชุดทดลองและใบงานระบบอาร์เอฟไอดี           

ภาคผนวก ง ตัวอย่างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์       

บรรณานุกรม
ประวัติหัวหน้าคณะผู้วิจัย
 
Extra Stuff
คู่มือการใช้งานโปรแกรม SCILAB
 
Store
ท่านที่สนใจสามารถหาซื้อหนังสือได้ที่
   ศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์
   ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   บริษัทซีเอ็ด (มหาชน) จำกัด
 

 
 
Copyright (c) 2009 NPRU. All Rights Reserved.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 85 ถนนมาลัยแมน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000