การสื่อสารดิจิทัล กับการประยุกต์ใช้โปรแกรม SCILAB
โดย รศ.ดร. ปิยะ โควินท์ทวีวัฒน์

 
 

 

วิชาการสื่อสารดิจิทัล (digital communications) เป็นวิชาที่สำคัญมากต่อการเรียนทางด้านวิศวกรรม
โทรคมนาคม เพราะจะอธิบายหลักการทำงานของวงจรภาคส่งและวงจรภาครับที่ใช้ในระบบสื่อสารต่างๆ
ที่พบในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบการสื่อสารไร้สาย ระบบส่งข้อมูลผ่านดาวเทียม
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้นวิชาการสื่อสารดิจิทัลจึงเป็นพื้นฐานของการเรียน
วิชาขั้นสูงอื่นๆ ทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม เช่น การสื่อสารดาวเทียม การสื่อสารไร้สาย
และการสื่อสารทางแสง

หนังสือเล่มนี้ได้ถูกจัดทำขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาการสื่อสารดิจิทัล
ซึ่งเป็นวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคมตามข้อกำหนดของสภาวิศวกร ปี พ.ศ. 2554 โดยจาก
ประสบการณ์การสอนของข้าพเจ้าพบว่าวิชาการสื่อสารดิจิทัลเป็นวิชาที่เข้าใจยาก เพราะมีการคำนวณ
ที่เกี่ยวข้องกับสมการคณิตศาสตร์จำนวนมากซึ่งบางครั้งทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง
เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้จึงได้มีการนำโปรแกรม SCILAB ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้ฟรี (ดาวน์โหลด
คู่มือการใช้งานโปรแกรม SCILAB ได้ที่ http://home.npru.ac.th/piya/webscilab) มาประยุกต์ใช้
ประกอบคำอธิบาย (มีการแสดงชุดคำสั่งของโปรแกรม SCILAB ที่ใช้ในการวาดรูปกราฟและ
การคำนวณต่างๆ) ของเนื้อหาในแต่ละบทเรียน เพื่อช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาต่างๆ
ในบทเรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หนังสือเล่มนี้จะเริ่มต้นอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและโครงสร้างของระบบสื่อสารดิจิทัล
จากนั้นบทที่ 2 และบทที่ 3 จะกล่าวถึงทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณและระบบ และตัวแปรสุ่ม
และกระบวนการสุ่ม ตามลำดับ เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนที่จะศึกษาในบทต่อไป บทที่ 4
จะอธิบายกระบวนการกล้ำรหัสพัลส์ซึ่งประกอบด้วยการชักตัวอย่าง การเเจงหน่วย และการเข้ารหัสพีซีเอ็ม
บทที่ 5 จะกล่าวถึงการกล้ำสัญญาณแถบความถี่ฐาน โดยเน้นไปที่การกล้ำสัญญาณพัลส์แบบแอนะล็อก
และแบบดิจิทัล บทที่ 6 อธิบายกระบวนงานแกรม-ชมิดท์ การออกแบบวงจรภาครับเหมาะที่สุดสำหรับ
การส่งข้อมูลไบนารี และการคำนวณหาสมรรถนะของวงจรภาครับ จากนั้นบทที่ 7 และบทที่ 8 กล่าวถึง
การกล้ำสัญญาณผ่านแถบแบบไบนารี (เช่น บีเอเอสเค บีเอฟเอสเค และบีพีเอสเค) และการกล้ำ
สัญญาณผ่านแถบแบบเอ็ม-อารี (เป็นการกล้ำสัญญาณดิจิทัลที่ใช้แบนด์วิดท์คุ้มค่า) ตามลำดับ
โดยจะเน้นไปที่โครงสร้างของวงจรภาคส่งและวงจรภาครับ รวมถึงการหาสมรรถนะในรูปความน่าจะเป็น
ของข้อผิดพลาดของระบบที่ใช้วิธีการกล้ำสัญญาณดิจิทัลแบบต่างๆ เหล่านี้ บทที่ 9 อธิบายพื้นฐาน
ของการส่งผ่านสัญญาณพัลส์แถบความถี่ฐานซึ่งประกอบด้วยการแทรกสอดระหว่างสัญลักษณ์ ทฤษฎีบท
ของไนควิสต์ การเข้ารหัสสหสัมพันธ์ และอีควอไลเซอร์ บทที่ 10 กล่าวถึงทฤษฎีข่าวสาร และการเข้ารหัส
แหล่งต้นทาง (เพื่อกำจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จะส่งไปยังปลายทาง) และสุดท้ายบทที่ 11 อธิบาย
การเข้ารหัสช่องสัญญาณแบบต่างๆ (รหัสบล็อกเชิงเส้น รหัสวน และรหัสคอนโวลูชัน) เพื่อป้องกัน
ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลที่ส่งจากต้นทางไปยังปลายทาง

 
 



Content & Download


สารบัญ (Download รายละเอียดของสารบัญ)


บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 พื้นฐานสัญญาณและระบบ

บทที่ 3 ตัวแปรสุ่มเเละกระบวนการสุ่ม 

บทที่ 4 การกล้ำรหัสพัลส์

บทที่ 5 การกล้ำสัญญาณแถบความถี่ฐาน  

บทที่ 6 วงจรภาครับเหมาะที่สุดสำหรับการส่งข้อมูลไบนารี

บทที่ 7 พื้นฐานการกล้ำสัญญาณผ่านแถบ 

บทที่ 8 การกล้ำสัญญาณผ่านแถบแบบเอ็ม-อารี

บทที่ 9 การส่งผ่านสัญญาณพัลส์แถบความถี่ฐาน
บทที่ 10 ทฤษฎีข่าวสารและการเข้ารหัสแหล่งต้นทาง
บทที่ 11 การเข้ารหัสช่องสัญญาณ
 
 
Extra Stuff
คู่มือการใช้งานโปรแกรม SCILAB
 
Store
ท่านที่สนใจสามารถหาซื้อหนังสือได้ที่
   ศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์ (โทร 02-613-3890)
   ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   บริษัทซีเอ็ด (มหาชน) จำกัด
   ร้านนายอินทร์

 
 


LINK TO COURSE HOMEPAGE ....

 

 

Copyright (c) 2012 NPRU. All Rights Reserved.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 85 ถนนมาลัยแมน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000