การประมวลผลสัญญาณสำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล

Signal Processing for Digital Data Storage

รศ.ดร.ปิยะ โควินท์ทวีวัฒน์

 

Introduction

ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (hard disk drive) เป็นผลิตภัณฑ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญต่อภาคการส่งออก
ของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2554 ได้มีประมาณการว่าประเทศไทย
จะสามารถส่งออกของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบได้สูงถึง 500,000 ล้านบาท และก่อให้เกิด
การจ้างงานในอุตสาหกรรมมากถึง 150,000 อัตรา (ที่มา: รายงานการศึกษาโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ
รองรับอุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ โดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และประมาณจาก
แนวโน้มของตลาดโลกและการขยายตัวของไทยที่ผ่านมา)

ในหลายปีที่ผ่านมากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้งจากภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา
ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาวิสาหกิจฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขึ้น ภายใต้การดำเนินการของ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน
และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทย (ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัท
ผู้ผลิตชั้นนำของโลก เช่น บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัท เวสเทิร์น
ดิจิทัล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น) ให้มีความเข้มแข็ง ดังนั้นทางเนคเทคจึงได้จัดเตรียม
แผนการส่งเสริมด้านต่างๆ ไว้หลายโครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาหลักสูตรและบุคลากร
ทางด้านเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์, โครงการร่วมลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์, และโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาทางด้านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เป็นต้น
เพื่อนำพาประเทศไปสู่ความเป็นที่หนึ่งทางด้านอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของโลก
ด้วยเทคโนโลยีและแรงงานระดับสูง

หนังสือ "การประมวลผลสัญญาณสำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เล่ม 1 : พื้นฐานช่องสัญญาณอ่าน
และเล่ม 2 : การออกแบบวงจรภาครับ'' ได้ถูกเขียนขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นองค์ความรู้ใหม่
ในการสนับสนุนโครงการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของประเทศไทย
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานทางด้านการประมวลผลสัญญาณดิจิทัล (digital signal processing)
และระบบสื่อสารดิจิทัล (digital communication) รวมทั้งผู้ที่สนใจทางด้านระบบการประมวลผลสัญญาณ
ของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ โดยจะอธิบายในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจและศึกษาด้วยตนเอง

สำหรับหนังสือ “การประมวลผลสัญญาณสำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เล่ม 3: การออกแบบ
วงจรภาครับขั้นสูง
” ได้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อรองรับระบบการประมวลผลสัญญาณของฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ๆ
ที่ใช้เทคนิคการถอดรหัสแบบวนซ้ำ (iterative decoding) เพื่อเพิ่มความจุข้อมูลให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้ง
ได้อธิบายถึงเทคโนโลยีการบันทึกเชิงแม่เหล็กแบบใหม่ ได้แก่ เทคโนโลยี BPMR (bit-patterned
magnetic recording) และ HAMR (heat-assisted magnetic recording) ซึ่งคาดว่าจะถูกนำมาใช้ในอนาคต
แทนเทคโนโลยีการบันทึกแบบแนวตั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ข้าพเจ้าได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาโดยอาศัยประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับตั้งแต่เริ่มการศึกษาระดับชั้น
ปริญญาเอกที่ Georgia Institute of Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังเคยทำงานวิจัย
ทางด้านระบบการประมวลผลสัญญาณของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ณ ศูนย์วิจัยซีเกท (Seagate research center)
ที่เมือง Pittsburgh ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระยะเวลา 1 ปี ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้และความชำนาญ
ทางด้านระบบการประมวลผลสัญญาณของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เป็นอย่างดี

 

รายละเอียดและตัวอย่าง
หนังสือการประมวลผลสัญญาณสำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล

เล่ม 1 : พื้นฐานช่องสัญญาณอ่าน (ปี 2550)

เล่ม 2 : การออกแบบวงจรภาครับ (ปี 2550)

เล่ม 3: การออกแบบวงจรภาครับขั้นสูง (ปี 2554)

 

Extra Stuff

คู่มือการใช้งานโปรแกรม SCILAB (http://home.npru.ac.th/piya/webscilab


ท่านที่สนใจสามารถหาซื้อหนังสือได้ที่

ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้จัดจำหน่าย)

ศูนย์หนังสือ สวทช

บริษัทซีเอ็ด (มหาชน) จำกัด

ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย